kruprathai.com=> พระเครื่อง -> พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่พระประธาน พร้อมใบเซอร์ แลกทองเหลือกิน บ้านเหลือเก็บ รถเหลือใช้
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่พระประธาน พร้อมใบเซอร์ แลกทองเหลือกิน บ้านเหลือเก็บ รถเหลือใช้
สมัครลงประกาศพระเครื่อง ฟรี !! รับถ่ายรูปพระเครื่อง ติดต่อสอบถาม 087-613-1076 คุณพิษณุ
ร้านเช่า : -กลมกลม
พระเครื่องที่คล้ายกัน
เลือกเอาพระเครื่องที่มีความคล้ายคลึงกันออกมาแสดง เพื่อให้ท่านได้เลือกชมพระเครื่องอื่นๆที่มีความใกล้เคียงกัน
สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระเครื่อง
ติดต่อสอบถาม 087-613-1076 คุณพิษณุ
พระเครื่องถูกโหวด จะ แท้หรือไม่ นั้นวัดได้จากความน่าเชื่อถือ ค่ายิ่งมาก ยิ่งมีความเป็นได้สูง
เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ รุ่น จปร. ปี ๒๕๑๓ บล๊อคหนาหลังขีดผิวหิ้งเลี่ยมกรอบเงิน
พระกริ่งชินบัญชร ญสส เพชรกลับ หลวงปู่บัว วัดศรีบูรพาราม ปี 53 เนื้อนวะ ก้นทองแดง
ขุนแผนฝังเหรียญหลวงปู่ทิม
เหรียญเงินพิมพ์เล็ก พร้อมกล่องและหนังสือชุด พระมหาชนก
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ติดต่อสอบถาม 087-613-1076 คุณพิษณุ พระสมเด็จ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ทิม พระปิดตา พระเหรียญ สมเด็จวัดระฆัง หลวงพ่อเงิน หลวงปู่แหวน หลวงพ่อทวด พระสมเด็จบางขุนพรหม หลวงพ่อปาน พระกริ่ง ของขลัง พระรูปหล่อ พระพุทธรูป เครื่องราง ติดต่อสอบถาม 087-613-1076 คุณพิษณุ ติดต่อสอบถาม 087-613-1076 คุณพิษณุ
รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง รับทำเว็บไซต์พระเครื่องราคา 4,500 บาท โทร. 087-6131076 คุณพิษณุ รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง 4,500 บาท รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง 4,500 บาท รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง 4,500 บาท รับทำเว็บไซต์พระเครื่อง 4,500 บาท |
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่พระประธาน พร้อมใบเซอร์ แลกทองเหลือกิน บ้านเหลือเก็บ รถเหลือใช้ รหัสพระเครื่อง : 1198 ราคา 40 -. เบอร์ติดต่อ 086-900-2201 / 034-324-972 ติดต่อ คุณทายาท
พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม
ตามประวัติของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม นามเดิมของท่านคือ โต ได้รับฉายา พฺรหฺมรังสี ถือกำเนิดต้อนเช้าตรู่ของวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 5 วันพฤหัสบดี จุลศักราช 1150 ในสมัยรัชกาลที่ 1 ณ บ้านไก่จ้น ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มารดาชื่อเกศ เป็นชาวตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อสมัยที่ท่านยังเด็กท่านได้ศึกษาหนังสือในสำนักท่านเจ้าประคุณอรัญญิก (ด้วง) วัดอินทรวิหาร หรือวัดบางขุนพรหมนอก (ส่วนวัดบางขุนพรหมในปัจจุบันก็คือวัดบางขุนพรหม) เมื่อท่านอายุครบ 12 ปี ท่านได้บวชเป็นสามเณร และย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆษิตาราม ว่ากันว่าครั้งที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เข้ามาศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม ณ วัดระฆังฯ แล้ว ปรากฏว่าการศึกษาของท่านได้รับคำชมเชยจากพระอาจารย์อยู่เสมอว่าท่านมีความจำ และความเฉลียวฉลาดเป็นเลิศ อีกทั้งท่านยังเรียนรู้พระปริยัติธรรม ได้อย่างรู้แจ้งแทงตลอด นอกจากท่านจะได้ศึกษาในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) แล้ว ท่านยังได้ไปฝากตัวศึกษาทางด้านปริยัติและด้านปฏิบัติกับท่านสมเด็จพระ สังฆราช (สุก)ไก่เถื่อน ณ วัดมหาธาตุ
เมื่อครั้นอายุครบอุปสมบท ประมาณปีมะโรง พ.ศ. 2350 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดให้บวชเป็นนาคหลวง ที่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงเรียกกันว่าพระมหาโตตั้งแต่นั้นมา จนกระทั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้า พระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อปีพ.ศ. 2395 เวลานั้นท่านมีอายุได้ 65 ปี
ซึ่งเล่าขานสืบต่อมาภายหลังว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นอริยสงฆ์จนถึงขั้นพระอรหันต์ ความเป็นอัจฉริยะบุคคลและแก่กล้าวิทยาคม ทั้งยังสำเร็จวิชา สรตะโสฬส ซึ่งมีพระไม่กี่รูปที่สำเร็จวิชานี้ ดั้งนั้นพระเครื่องที่ท่านสร้างหรือปลุกเสกจึงก่ออภินิหารต่างๆ นานา ให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปที่มีบุญญาบารมีได้ครอบครอง
พระ สมเด็จวัดระฆังฯ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้สร้างขึ้นนั้น เป็นพระที่หลายคนใฝ่ฝันและปรารถนาอยากมีไว้ครอบครอง แต่น้อยนักที่จักประสบผลสำเร็จตามต้องการ เนื่องด้วยจำนวนพระที่มีหมุนเวียนน้อยลงทุกขณะ ในขณะที่ค่านิยมกลับสูงขึ้นตามกาลเวลา จนมิใช่เรื่องง่ายที่จะมีไว้ชื่นชม พระสมเด็จวัดระฆังฯจึงถูกยกย่องให้เป็น จักรพรรดิแห่งพระเครื่องทั้งมวล เป็นองค์พระประธานในชุด เบญจภาคี เหตุที่พระสมเด็จของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้รับการยกย่องเช่นนั้นอาจเป็นเพราะรูปแบบของสมเด็จวัดระฆังเป็นพระเครื่อง องค์แรก ที่สร้างเป็นรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ส่วนองค์พระและฐานท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านจำลองแบบและย่อส่วนมา จึงต้องยอมรับว่าเป็นความงดงามที่ลงตัวหาที่เปรียบไม่ได้
พระ สมเด็จวัดระฆังฯ เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นโดย ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณปี พ.ศ. 2409 ประกอบด้วยพระพิมพ์มาตรฐาน 4 พิมพ์ คือ
1. พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หรือพระพิมพ์ประธาน
2. พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เจดีย์ 3. พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์เกศบัวตูม
4. พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม
พระสมเด็จวัดระฆังฯ ในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้นเป็นพระที่สร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามแต่โอกาสและเวลาจะอำนวย ไม่ได้สร้างครั้งเดียวและแล้วเสร็จ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะว่าพระแต่ละพิมพ์ของท่าน เนื้อหาตลอดจนมวลสารนั้นมี ความแตกต่างกัน การสร้างพระพิมพ์ด้วยพระเนื้อผงสีขาว ซึ่งต่อมาเรียกว่า เนื้อพระสมเด็จโดยมีเนื้อหลักเป็นปูนขาว (ปูนหิน) หรือปูนเปลือกหอย ผสมด้วยวัตถุมงคลอาถรรพณ์อื่นๆ และมีผงวิเศษซึ่งสำเร็จจากการลบสูตรสนธิจากคัมภีร์ทางพุทธาคม เช่น ผงปถมัง มหาราช อิถเจ ตรีนิสิงเห โสฬสมงคล นะ 108 ตลอดจนผงอื่นๆ อีกมาก ส่วนตัวประสานหรือตัวยึดเกาะนั้น ที่เราทราบกันดีอย่างเด่นชัดก็คือ น้ำมันตังอิ๊ว น้ำอ้อย น้ำผึ้ง กล้วย และที่สำคัญอย่างหนึ่งคือเยื่อกระดาษ ได้มาจากการนำเอากระดาษสามาแช่น้ำข้ามวันข้ามคืนจนกระดาษละลายเป็นเมือก จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมบดตำลงไป เชื่อกันว่าเยื่อกระดาษนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เนื้อพระสมเด็จมีความหนึก นุ่ม โดยเฉพาะส่วนผสมที่เป็นพืช เช่นข้าว อาหาร กล้วย อ้อย เป็นต้น ก็มีส่วนที่ทำให้เนื้อพระมีความหนึกนุ่มเช่นกัน เมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระแต่ละพิมพ์เสร็จแล้ว ท่านก็จะบรรจุลงบาตร นอกจากท่านจะบริกรรมปลุกเสกด้วยตัวท่านเองแล้ว ท่านยังนิมนต์ให้พระเณรช่วยกันปลุกเสกอีกด้วย เมื่อท่านออกไปบิณฑบาตท่านก็จะนำติดตัวไปด้วย เมื่อญาติโยมใส่บาตรท่าน ท่านก็จะแจกพระให้คนละองค์ และมักจะพูดว่า “เก็บไว้ให้ดีนะจ๊ะ ต่อไปจะหายาก” โดยไม่บรรยายสรรพคุณให้ทราบแต่อย่างใด แต่ก็ทราบกันดีว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โด่งดังทางโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม
พระคาถาชินบัญชร
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ผูกพระมหาคาถา ชินบัญชร ขึ้น ซึ่งพระมหาคาถานี้มีพุทธานุภาพอันยิ่งยง ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงและบูชาท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ด้วยถ้อยคำว่า
"ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนังอัตถิกาเยกายะญายะ
เทวานังปิยะตังสุตตะวาอิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ"
1. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
2. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.
3. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.
4. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
5. ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.
6. เกสันโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
7. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.
8. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ.
9. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
10. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
11. ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
12. ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทํสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
13. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะ ปัญชะเร.
14. ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
15. อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโขสะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา. ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ. ( ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา )
|
พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่พระประธาน พร้อมใบเซอร์ แลกทองเหลือกิน บ้านเหลือเก็บ รถเหลือใช้ |
กรุณารอสักครู่...